
โรคนกเขาไม่ขัน (Erectile dysfunction) จัดเป็นหนึ่งในปัญหาต้นๆ ที่คลินิคทางเดินปัสสาวะของผมครับ ปัญหาที่น่าอายนี้เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากเป็นและทำให้ผู้ป่วยหลายๆ คนพยายามอย่างมากเพื่อแก้ไขปัญหานี้ หลายครั้งที่แพทย์ไม่มีเวลาให้คำแนะนำในการฟื้นฟูโรคนกเขาไม่ขัน (Erectile dysfunction) มากนักและบอกเพียงแค่ "ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนะครับ” คำแนะนำสั้นๆ นี้ทำให้เกิดคำถามมากมายในใจของผู้ป่วยว่าต้องออกกำลังกายยังไง หัวข้อนี้ผมจะเล่าให้ฟังพร้อมหลักฐานทางงานวิจัยครับ

คำถามที่พบบ่อย เรื่องการออกกำลังเพื่อฟื้นฟูโรคนกเขาไม่ขัน (Erectile dysfunction)
คำถาม : ใครบ้างจะได้รับประโยชน์จากการออกกำลังกาย?
คำตอบ : ทุกคนครับ ยกเว้น ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นผ่าตัดโรคหัวใจขาดเลือด
- เนื่องจากผู้ป่วยที่มีประวัติผ่าตัดโรคหัวใจขาดเลือดอาจต้องใช้ยาที่ทำให้เกิดภาวะนกเขาไม่ขัน (Erectile dysfunction) ได้อยู่แล้ว
- ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะถูกจำกัดการออกกำลังอยู่แล้วครับ

คำถาม : ออกกำลังกายแบบไหนดี?
คำตอบ : ออกกำลังกายระดับปานกลางถึงเข้มข้น
- การออกกำลังกายแบบ Aerobic exercise เช่น วิ่ง เดินเร็ว วิ่งจ๊อกกิ้ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ

คำถาม : การเล่น Weight training สามารถช่วยเรื่องนกเขาไม่ขัน (Erectile dysfunction) ได้หรือไม่?
คำตอบ : การเล่น Weight training เพียงอย่างเดียวไม่สามารถฟื้นฟูโรคนกเขาไม่ขัน (Erectile dysfunction) ได้ครับ แต่จะได้ผลดีถ้าเล่นควบคู่กับ Aerobic exercise ที่ผมพูดถึงข้างบน

คำถาม : แล้วการออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic floor exercise) ช่วยมั้ย?
คำตอบ : งานวิจัยทางการแพทย์ยืนยันอย่างชัดเจนว่า “ไม่ช่วย” ฟื้นฟูโรคนกเขาไม่ขัน (Erectile dysfunction) นะครับ
คำถาม : ต้องออกกำลังกายครั้งละกี่นาที?
คำตอบ : แนวทางที่แนะนำมีดังนี้
- 40 นาทีต่อครั้ง 4 ครั้งต่อสัปดาห์ (รวมเป็น 160 นาทีต่อสัปดาห์)
- ***ถ้าคุณสามารถออกกำลังกายเพิ่มเป็น 200 – 300 นาทีต่อสัปดาห์ จะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า 160 นาทีต่อสัปดาห์อย่างมาก
คำถาม : ต้องออกกำลังกายไปนานเท่าไหร่ จึงจะเห็นผล?
คำตอบ : งานวิจัยบอกว่า 6 เดือนหลังจากการออกกำลังกายเป็นประจำครับ
- มีงานวิจัยระยะสั้นรายงานผู้ป่วยที่มีอาการของโรคนกเขาไม่ขัน (Erectile dysfunction) ดีขึ้นที่ 2 เดือน ดังนั้นคุณน่าจะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นภายใน 2 เดือนครับ
คำถาม : ผู้ป่วยจำเป็นต้องรักษาโรคนกเขาไม่ขัน (Erectile dysfunction) อื่นๆ ร่วมด้วยในขณะที่ออกกำลังกายหรือไม่?
คำตอบ : งานวิจัยบอกว่าการรักษาโรคนกเขาไม่ขัน (Erectile dysfunction) ด้วยวิธีอื่นๆ ร่วมด้วยจะให้ผลการรักษาที่ดีกว่าออกกำลังกายอย่างเดียวครับ
ประโยคสั้นๆ ที่ผมมักจะสรุปให้ผู้ป่วยฟังนะครับ
- ออกกำลังกายแบบ Aerobic exercise ในระดับปานกลางถึงเข้มข้น
- ครั้งละ 40 นาที
- 4 ครั้งต่อสัปดาห์
- ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน
ผมหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณได้แนวทางในการออกกำลังกายในแง่เพื่อการฟื้นฟูโรคนกเขาไม่ขัน (Erectile dysfunction) หากมีคำถามใดๆ คุณลองปรึกษาหมอทางเดินปัสสาวะที่คุณไว้ใจ หรือลองทักผมมาก็ได้ครับ ไว้เจอกันใหม่บทความหน้าครับ
คุณสามารถเยี่ยมชม Homepage ของผมได้ ที่นี่.




