Urinary retention in female ภาวะปัสสาวะไม่ออกในผู้หญิง

หัวข้อ AUR หญิง

ก่อนอื่นผมต้องบอกก่อนครับว่าภาวะปัสสาวะไม่ออกในผู้หญิง หรือ Urinary retention in female พบได้น้อยกว่าในผู้ชายมากๆ มีงานวิจัยพูดถึงความชุกของภาวะนี้เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชายพบว่าน้อยมากครับ พบเพียง 1:13 คนเท่านั้น เหตุผลหลักเลยก็คือในผู้หญิงไม่มีต่อมลูกหมากที่จะคอยขัดขวางทางเดินน้ำปัสสาวะเหมือนในผู้ชายครับ อย่างไรก็ตามหากภาวะนี้เกิดขึ้นมักจะเป็นเรื่องยากสำหรับคุณหมอที่ไม่ได้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในเรื่องนี้ ซึ่งวันนี้เราจะมาคุยภาวะปัสสาวะไม่ออกในผู้หญิงกันครับ

ผู้ป่วย AUR
ภาวะปัสสาวะไม่ออกในผู้หญิงมักจะเป็นเรื่องยากสำหรับคุณหมอทั่วไปเสมอครับ

สาเหตุของภาวะนี้มักเกิดจากปัจจัยหลายๆ เรื่องและมีความสลับซับซ้อน ทำให้เราต้องพิจารณาโดยละเอียดอย่างมีขั้นตอนครับ จากประสบการณ์ของผมจะแบ่งคนไข้ภาวะนี้ออกเป็นสองระยะครับ

ภาวะปัสสาวะไม่ออกในผู้หญิงเป็นปัญหาที่มีสาเหตุที่ซับซ้อนทำให้กระบวนการวินิจฉัยต้องพิจารณาอย่างเป็นขั้นตอนครับ
ภาวะปัสสาวะไม่ออกในผู้หญิงเป็นปัญหาที่มีสาเหตุที่ซับซ้อนทำให้กระบวนการวินิจฉัยต้องพิจารณาอย่างเป็นขั้นตอนครับ

แบ่งภาวะปัสสาวะไม่ออกในผู้หญิงเป็นสองกลุ่มคนไข้ครับ

  1. ประเภทที่เพิ่งเป็นครับ - จะเป็นกลุ่มที่เพิ่งมีอาการปัสสาวะไม่ออกไม่เกินหกสัปดาห์ครับ
    • ฉันคิดว่ามันเป็นผู้หญิงที่ย้อนกลับได้ใน AUR และจำเป็นต้องค้นหา สาเหตุ ที่แก้ไขได้
    • มักพบมากในกลุ่มคุณแม่หลังคลอดหรือคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดแก้ไขอาการปัสสาวะเล็ดราด
  2. ประเภทที่เป็นมานานแล้วครับ - เป็นกลุ่มที่เคยได้รับการแก้ไขปัจจัยเสี่ยงเบื้องต้นแต่ยังคงปัสสาวะไม่ออกอยู่ จะทำให้เราคิดถึงภาวะปัสสาวะไม่ออกเรื้อรังครับ โดยแบ่งย่อยออกได้สองกลุ่มย่อยครับ
    • กลุ่มที่มีปัญหาตัวกระเพาะปัสสาวะ เช่นโรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไม่ดีหรือโรคเส้นประสาทที่ไม่ดี
    • กลุ่มที่มีปัญหาท่อปัสสาวะ เช่นท่อปัสสาวะโดนเบียดจากเนื้องอกทางนรีเวช เนื้องอกท่อปัสสาวะเองหรือแม้กระทั่งภาวะตั้งครรภ์ครับ
เราจะคิดถึงภาวะปัสสาวะไม่ออกเรื้อรังในรายที่ยังคงปัสสาวะไม่ออกหลังจากแก้ปัจจัยเสี่ยงเบื้องต้นแล้ว
เราจะคิดถึงภาวะปัสสาวะไม่ออกเรื้อรังในรายที่ยังคงปัสสาวะไม่ออกหลังจากแก้ปัจจัยเสี่ยงเบื้องต้นแล้ว

คำถามโดยทั่วไปที่จะเกิดขึ้น “เราจะทำอย่างไรในช่วงที่ปัสสาวะไม่ออก” คำตอบก็คือ “ต้องระบายน้ำปัสสาวะออกก่อนนะครับ” การระบายน้ำปัสสาวะออกจะได้ประโยชน์ในแง่ลดความดันของกระเพาะปัสสาวะที่ต้องกักเก็บน้ำปัสสาวะปริมาณมากเป็นเวลานาน ซึ่งภาวะนี้ทำให้แรงบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะเสียไปครับ การพักกระเพาะปัสสาวะจึงเป็นวิธีที่ทำให้กระเพาะปัสสาวะมีแรงบีบตัวที่ดีภายหลังได้ครับ

นั่นแปลว่าลำดับในการรักษาภาวะปัสสาวะไม่ออกในผู้หญิงจะเป็นไปตามขั้นตอนดังนี้ครับ

  • ทำการระบายน้ำปัสสาวะด้วยการสวนสายปัสสาวะโดยอาจจะเป็นการสวนชั่วคราวหรือสวนและคาทิ้งไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
  • มองหาสาเหตุของภาวะปัสสาวะไม่ออกที่สามารถแก้ไขได้และทำการแก้ไข
  • คาสายสวนปัสสาวะไว้ 1 ถึง 14 วันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เป็นสาเหตุของภาวะปัสสาวะไม่ออกของคนไข้ครับ หลังจากนั้นให้คนไข้ลองปัสสาวะเองครับ
  • ถ้าคนไข้สามารถปัสสาวะได้เองถือว่าประสบความสำเร็จในการรักษาแต่กลับกันถ้ายังคงปัสสาวะไม่ออกเราจะใส่สายปัสสาวะอีกครั้งและทำการพิจารณาถึงสาเหตุและวิธีการรักษาในลำดับต่อๆไปครับ
เราจะพิจารณาใส่สายสวนปัสสาวะในคุณผู้หญิงที่มีภาวะปัสสาวะไม่ออกครับ
เราจะพิจารณาใส่สายสวนปัสสาวะในคุณผู้หญิงที่มีภาวะปัสสาวะไม่ออกครับ

มีงานวิจัยพบว่า 92.6% ของคนไข้กลุ่มนี้ประสบความสำเร็จในการปัสสาวะได้เองหลังจากแก้ไขปัจจัยเสี่ยงครับเพราะฉะนั้นอย่าพึ่งตกใจจนเกินไปนะครับ หากมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ลองปรึกษาคุณหมอทางเดินปัสสาวะที่คุณไว้ใจหรือลองทักผมมาก็ได้ครับ

เยี่ยมชม Homepage ของผมได้นะครับ.

ให้คำปรึกษา Online ฟรี
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ 1
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ 2
ประวัติ PE สืบสวน
ประกาศ
Dr.Pom WeChat
โทรเลข 1
WhatsApp
บรรทัดที่ 1

ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไม่ดี Underactive bladder disease

หลังจากทำงานด้านระบบทางเดินปัสสาวะในกัมพูชาเป็นเวลา 5 ปี ปัญหาการปัสสาวะผิดปกติของผู้หญิงในคลินิกระบบทางเดินปัสสาวะหญิงของฉันพบมากขึ้นเรื่อยๆ วันนี้เราจะมาพูดถึงโรค “Underactive Bladder” ในเพศหญิงกัน โดยปกติแล้ว หน้าที่ของกระเพาะปัสสาวะคือเก็บปัสสาวะและบีบน้ำปัสสาวะออกให้หมดเมื่อเราปัสสาวะ แต่โรคแบบนี้…

Transient urinary retention วิธีจัดการภาวะปัสสาวะไม่ออกชั่วคราว

การเก็บปัสสาวะเป็นเรื่องร้องเรียนทั่วไปที่สำนักงานระบบทางเดินปัสสาวะของฉัน การเก็บปัสสาวะหมายถึงการเก็บปัสสาวะอย่างเฉียบพลัน ส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้านทั่วโลกโดยมีความชุกเพิ่มขึ้นในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะหวาดกลัวกับการรักษาครั้งแรกและพยายามแสวงหาการรักษาเฉพาะทางจากแพทย์ ดี…

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (UI): ปัสสาวะรั่วก่อนเข้าห้องน้ำ

คำจำกัดความของ Urge incontinence คือความรู้สึกอยากปัสสาวะอย่างกะทันหันซึ่งยากต่อการกลั้นปัสสาวะ ทำให้เกิดปัสสาวะเล็ดออกมาในบางครั้ง สาเหตุของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบ่งได้เป็น 3 สาเหตุใหญ่ มีรายงานว่าภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (UI) เป็นภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่พบบ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นที่ยืนยัน…

กำลังโหลด…

บางอย่างผิดพลาด. โปรดรีเฟรชหน้านี้และ/หรือลองอีกครั้ง

ทิ้งคำตอบไว้

thไทย

ค้นพบเพิ่มเติมจาก Professional Thai Urologist

สมัครสมาชิกตอนนี้เพื่ออ่านต่อและเข้าถึงเอกสารฉบับเต็ม

อ่านต่อไป