มีคนไข้หลายๆ คนที่คลินิกทางเดินปัสสาวะของผมมาด้วยเรื่องตรวจพบเนื้องอกไขมันที่ไตโดยบังเอิญ หรือที่เรียกในทางการแพทย์ว่า Angiomyolipoma เนื้องอกนี้ส่วนใหญ่ตรวจพบที่คลินิก Check up และทำให้คนไข้วิตกกังวลมากเมื่อทราบ และนั่นคือหัวข้อที่เราจะมาพูดกันในวันนี้ครับ
ก่อนอื่นเลยครับ ผมต้องขอยืนยันว่าเนื้องอกไขมันที่ไต Angiomyolipoma เป็นเนื้องอกธรรมดาที่ไม่อันตราย มีรายงานพบ 0.2% – 0.6% ในกลุ่มประชากรทั่วไป โดยมากพบในสตรีวัยกลางคน สาเหตุแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

- 80% เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ
- 20% เกิดขึ้นจากกลุ่มโรคทางพันธุกรรม เช่น Tuberosclerosis (TSC) หรือ Pulmonary lymphangioleiomyomatosis (LAM)
เนื่องจากเนื้องอกไขมันที่ไต Angiomyolipoma ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ทำให้ผู้ป่วยประมาณ 85% มักพบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพประจำปี โดยอีก 15% จะมาพบแพทย์เนื่องจากมีอาการ ดังนี้

อาการแสดงของ เนื้องอกไขมันที่ไต Angiomyolipoma
- ตัวก้อนเนื้องอกมีการปริแตกขึ้นมาเอง
- คลำได้ก้อนที่เอว
- ปวดเอว
- ปัสสาวะเป็นเลือด
- มีอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
การวินิจฉัย – ผมสามารถบอกได้ว่าเนื้องอกไขมันที่ไต Angiomyolipoma สามารถวินิจฉัยได้โดยวิธีทางรังสีวิทยา (Imgaing) เนื่องจากตัวมันมีองค์ประกอบเฉพาะคือ "ไขมัน" ดังนั้นเมื่อการตรวจพบเนื้องอกในไตที่มีส่วนประกอบของไขมัน จะถือเป็นการวินิจฉัยในทันที
ทางเลือกในการตรวจทางรังสีวิทยา (Imgaing) – ในปัจจุบันมีหลากหลายวิธีในตรวจหาเนื้องอกไขมันที่ไต Angiomyolipoma ซึ่งแต่ละวิธีจะมีจุดเด่นและจุดด้อยของมัน

- Ultrasound – วิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุดตามคลินิก Check up
- จุดเด่น – ราคาถูก คนไข้ไม่ต้องสัมผัสรังสี สามารถเข้าถึงได้ทั่วไปแม้กระทั่งคลินิกเล็กๆ
- จุดด้อย – เป็นการตรวจที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของผู้ทำอย่างมาก (Operator dependent) ความแม่นยำน้อยในเนื้องอกไขมันที่ไต Angiomyolipoma ขนาดเล็ก
- CT scan ชนิดไม่ฉีดสารทึบรังสี – ถือว่าเป็นการตรวจมาตรฐานในการวินิจฉัยโรคเนื้องอกไขมันที่ไต Angiomyolipoma
- จุดเด่น – เป็นการตรวจที่ดีที่สุดในการการวินิจฉัยโรคเนื้องอกไขมันที่ไต Angiomyolipoma
- จุดด้อย – คนไข้ต้องสัมผัสรังสี มีราคาแพงกว่า Ultrasound
- MRI - เป็นการตรวจอีกวิธีที่ให้ความแม่นยำไม่ต่างกับ CT scan
- จุดเด่น – วินิจฉัยเนื้องอกไขมันที่ไต Angiomyolipoma ได้อย่างแม่นยำ
- จุดด้อย – ใช้เวลาทำนาน มีราคาแพง มีข้อห้ามในผู้ป่วยที่มีโลหะในร่างกาย
- การเจาะชิ้นเนื้อผ่านผิวหนัง (Percutaneous biopsy) – เป็นวิธีที่ไม่ค่อยใช้ในการวินิจฉัยโรคนี้
- จุดเด่น – สามารถได้เนื้อเยื่อมาตรวจทางพยาธิวิทยา (Pathology)
- จุดด้อย – มีความเสี่ยงที่จะเกิดเลือดออกหลังจากการเก็บชิ้นเนื้อ

แนวทางการรักษา – มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่า เนื้องอกไขมันที่ไต Angiomyolipoma ที่ขนาดน้อยกว่า 4 centimeter ไม่จำเป็นต้องทำอะไรโดยสามารถติดตามการรักษาไปได้ ในทางตรงกันข้ามหากเนื้องอกไขมันที่ไต Angiomyolipoma มีขนาดมากกว่า 4 centimeter มีรายงานความเสี่ยงของก้อนที่จะมีการปริแตกได้ ต่อไปนี้คือทางเลือกในการรักษาทั้งหมด
- ตรวจติดตามอาการอย่างใกล้ชิด – ตรวจติดตามขนาดของเนื้องอกก้อนเดิมว่ามีการโตขึ้นหรือไม่รวมถึงมองหาเนื้องอกใหม่ที่อาจเกิดขึ้น
- Embolization – เป็นการรักษาแบบบาดเจ็บน้อย (Minimally invasive surgery) ถือเป็นการรักษาขั้นแรกในเนื้องอกไขมันที่ไต Angiomyolipoma ที่ใหญ่กว่า 4 centimeter อย่างไรก็ตาม มีโอกาส 42.8% ที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการทำหัตถการที่เรียกว่า "post embolization syndrome" ซึ่งเป็นภาวะที่หายได้เอง ซึ่งคนไข้จะมีอาการเป็นไข้ ปวดสีข้าง คลื่นไส้และอาเจียนใน 3 วันแรกหลังทำหัตถการ
- การผ่าตัดเอาก้อนออก – จะพิจารณาในรายที่มีความเสี่ยงของโรคมะเร็ง
- การใช้ความร้อนทำให้ก้อนระเหย (Thermal ablation) – เป็นการรักษาแนวทางใหม่โดยใช้ความเย็นในการกัดเซาะก้อน (Cryotherapy) หรือการเผาไหม้ด้วยความร้อน (Radiofrequency ablation) การรักษาเหล่านี้ยังมีข้อมูลทางการแพทย์ไม่มากนัก

ใจความสำคัญที่หมอทางเดินปัสสาวะต้องแจ้งให้ผู้ป่วยทราบคือ เนื้องอกไขมันที่ไต Angiomyolipoma เป็นเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง ส่วนใหญ่สามารถตรวจติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิดได้โดยไม่ต้องทำอะไร การผ่าตัดจำเป็นในรายที่ก้อนมีความเสี่ยงเป็นมะเร็ง แล้วพบกันใหม่ในหัวข้อหน้านะครับ
หากมีคำถามใดๆ ส่งข้อความหา ผม ที่นี่




