โรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ Urinary incontinence

หัวข้อไม่หยุดยั้ง
ดร.ป้อม Getbutton
นายแพทย์สรวีร์ วีระโสภณ

หมอทางเดินปัสสาวะ
โรงพยาบาล Royal Phnom Penh กัมพูชา
คลินิค We Wellness, ชลบุรี ประเทศไทย

โรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือภาวะอั้นฉี่ไม่ได้เป็นหัวข้อที่เราจะคุยกันวันนี้ครับ ก่อนอื่นผมต้องบอกครับว่าโรคนี้ไม่ได้เป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิต แต่สร้างความทุกข์ทรมานทางจิตใจต่อผู้ป่วยมากๆ ครับ โรคนี้มักพบบ่อยเมื่ออายุมากขึ้น ยังไม่มีรายงานตัวเลขที่แน่ชัด แต่คาดการณ์ว่ามีอุบัติการณ์ทั่วโลกมากถึง 400 ล้านคน โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายประมาณ 2 เท่า

สาเหตุของ โรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ Urinary incontinence สามารถแบ่งสาเหตุได้ตามเพศ

  • ประวัติเสี่ยงในเพศหญิง
    1. ประวัติการตั้งครรภ์
    2. จำนวนบุตร
    3. ประวัติโรคเบาหวาน
    4. ภาวะอ้วน
โรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ Urinary incontinence
ประวัติการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติตั้งครรภ์หลายครั้งในอดีต เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรืออั้นฉี่ไม่ได้
หลีกเลี่ยงภาวะอ้วน
ภาวะอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรืออั้นฉี่ไม่ได้ ซึ่งการลดน้ำหนักสามารถทำให้อาการดีขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ
  • ประวัติเสี่ยงในเพศชาย
    1. ประวัติผ่าตัดต่อมลูกหมาก
การผ่าตัดต่อมลูกหมาก
ประวัติผ่าตัดต่อมลูกหมากเป็นประวัติสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรืออั้นฉี่ไม่ได้ในเพศชาย

โรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรืออั้นฉี่ไม่ได้แบ่งได้ 4 ประเภทกว้างๆ

  1. ภาวะปัสสาวะเล็ด หลังไอ จาม Stress incontinence
    • เป็นภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อมีการเบ่งช่องท้อง เช่น ไอ จาม ยกของหนัก
    • พบบ่อยในเพศหญิง
    • พบมากถึง 45% ในเพศหญิงอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป
  2. ภาวะปัสสาวะเล็ด ก่อนไปถึงห้องน้ำ Urge incontinence
    • เป็นภาวะที่ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้และทำให้ปัสสาวะเล็ดราดออกมาก่อนที่จะพาตัวเองไปถึงห้องน้ำ
    • พบบ่อยในเพศชายอายุมาก
    • พบมากถึง 42% ในเพศชายที่อายุมากกว่า 75 ปีขึ้นไป
ความมักมากในกามของผู้ชาย
ภาวะปัสสาวะเล็ดออกมาก่อนที่จะไปถึงห้องน้ำพบได้บ่อยในเพศชาย
  1. ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรืออั้นฉี่ไม่ได้แบบผสม Mixed incontinence
    • เป็นภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่เป็นแสดงอาการแบบข้อ 1 และข้อ 2 ข้างบนผสมกัน
  2. ภาวะปัสสาวะล้น Overflow incontinence
    • เป็นภาวะปัสสาวะล้นออกมาจากกระเพาะปัสสาวะ มักเกิดขึ้นเมื่อน้ำเต็มกระเพาะปัสสาวะจนไม่สามารถขยายตัวได้อีก
    • โรคเกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น โรคไขสันหลัง โรคเบาหวาน
    • โรคที่อุดกั้นระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมากโต ก้อนในท้องน้อยที่กดทับทางเดินปัสสาวะ

เมื่อคนไข้มีปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรืออั้นฉี่ไม่ได้ เราจำเป็นจะต้องซักประวัติ และตรวจร่างกายโดยละเอียด เพื่อแยกประเภทของโรคนี้เนื่องจากภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรืออั้นฉี่ไม่ได้แต่ละชนิดมีการรักษาที่แตกต่างกันไป ทำให้การรักษาคนไข้แต่ละรายจะมีรายละเอียดเฉพาะ อย่างที่ผมเล่าให้ฟังตอนต้นว่าโรคนี้สร้างผลกระทบทางจิตใจอย่างมาก ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนะครับ

ถ้ามีคำถามหรือข้อสงสัยใดๆ ลองทัก ผม.

ให้คำปรึกษา Online ฟรี
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ 1
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ 2
ประวัติ PE สืบสวน
ประกาศ
WeChat
โทรเลข 1
WhatsApp
บรรทัดที่ 1

โมฆะผิดปกติของหญิง: โรคกระเพาะปัสสาวะทำงานไม่เต็มที่

หลังจากทำงานด้านระบบทางเดินปัสสาวะในกัมพูชาเป็นเวลา 5 ปี ปัญหาการปัสสาวะผิดปกติของผู้หญิงในคลินิกระบบทางเดินปัสสาวะหญิงของฉันพบมากขึ้นเรื่อยๆ วันนี้เราจะมาพูดถึงโรค “Underactive Bladder” ในเพศหญิงกัน โดยปกติแล้ว หน้าที่ของกระเพาะปัสสาวะคือเก็บปัสสาวะและบีบน้ำปัสสาวะออกให้หมดเมื่อเราปัสสาวะ แต่โรคแบบนี้…

ภาวะปัสสาวะไม่ออกในผู้หญิง Female Urinary Retention

ก่อนอื่น ต้องบอกว่าการเก็บปัสสาวะของผู้หญิงเป็นอาการที่ค่อนข้างหายากหากเทียบกับเพศชาย มีวรรณกรรมที่แสดงให้เห็นว่าอัตราส่วนอุบัติการณ์ระหว่างหญิงและชายต่ำถึง 1:13 คำอธิบายคือผู้หญิงไม่มีต่อมลูกหมากซึ่งอาจไปอุดกั้นท่อปัสสาวะเมื่อ...

การเก็บปัสสาวะชั่วคราว: การจัดการ

การเก็บปัสสาวะเป็นเรื่องร้องเรียนทั่วไปที่สำนักงานระบบทางเดินปัสสาวะของฉัน การเก็บปัสสาวะหมายถึงการเก็บปัสสาวะอย่างเฉียบพลัน ส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้านทั่วโลกโดยมีความชุกเพิ่มขึ้นในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะหวาดกลัวกับการรักษาครั้งแรกและพยายามแสวงหาการรักษาเฉพาะทางจากแพทย์ ดี…

กำลังโหลด…

บางอย่างผิดพลาด. โปรดรีเฟรชหน้านี้และ/หรือลองอีกครั้ง

ทิ้งคำตอบไว้

thไทย
บล็อกเกอร์ %d ชอบสิ่งนี้: