มีผู้ป่วยผู้หญิงจำนวนมากมาพบผมด้วยอาการปวดกระเพาะปัสสาวะที่ไม่ทราบสาเหตุ โดยมักจะมีประวัติว่าคนไข้ไปพบแพทย์หลายๆ ที่ทั้งคลินิคและโรงพยาบาลต่างๆ แต่ก็ไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด หลายๆ รายได้จะรับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทั้งๆ ที่ผลการตรวจปัสสาวะให้ผลที่ปกติ และก็ยังไม่ดีขึ้นแม้จะทานยาฆ่าเชื้อจนครบแล้ว ถ้าคุณมีอาการคล้ายๆ แบบนี้ เราจะสงสัยโรค “Interstitial cystitis อาการปวดกระเพาะปัสสาวะไม่ทราบสาเหตุ” หรือศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า "Interstitial cystitis" และนี่คือหัวข้อที่เราจะคุยกันในวันนี้ครับ

Interstitial cystitis หรืออาการปวดกระเพาะปัสสาวะไม่ทราบสาเหตุ เป็นภาวะปวดกระเพาะปัสสาวะเรื้อรัง มีรายงานพบในผู้หญิงสหรัฐอเมริกาอย่างน้อย 2.7% โรคนี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาวซึ่งตามมาด้วยค่ารักษาพยาบาลที่สูงอีกด้วย เราจะสงสัยโรค Interstitial cystitis หรืออาการปวดกระเพาะปัสสาวะไม่ทราบสาเหตุ เมื่อเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยดังต่อไปนี้ (อ้างอิงจาก American Urological Association)
เกณฑ์การวินิจฉัย Interstitial cystitis หรืออาการปวดกระเพาะปัสสาวะไม่ทราบสาเหตุ
- มีความรู้สึกไม่สุขสบาย (เจ็บ, ปวดหน่วงๆ, รู้สึกไม่สบาย) บริเวณท้องน้อย
- มีอาการปัสสาวะบ่อยหรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้
- อาการเป็นมานานกว่า 6 สัปดาห์
- เมื่อมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบการติดเชื้อหรือสาเหตุอื่นๆ
แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีเกณฑ์การวินิจฉัยที่แน่ชัด แต่เราสามารถวินิจฉัยตามระดับความสงสัยได้ ผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็น Interstitial cystitis หรืออาการปวดกระเพาะปัสสาวะไม่ทราบสาเหตุจะต้องมีการตรวจเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีโรคร้ายแรงซ่อนอยู่ เช่นการติดเชื้อหรือมะเร็ง การส่องกล้องกระเพาะปัสสาวะเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อทำให้เรามั่นใจมากขึ้นหากเราพบ “Hunner's ulcer” แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเราจะไม่พบ Hunner's ulcer เรายังคงใช้วิธี “ลองรักษาไปก่อน” อยู่ดีครับ
มีคำถามจากคนไข้จำนวนมากว่า มันเกิดขึ้นได้อย่างไร? โดยมีหลายทฤษฎีพยายามอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นกับอาการปวดกระเพาะปัสสาวะ โดยผมจะสรุปเป็น 2 ทฤษฎีหลักนะครับ

- มีความผิดปกติที่ผิวเนื้อเยื่อชั้นนอกในกระเพาะปัสสาวะ ดังนั้นสารเคมีหรือเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะจะสามารถสัมผัสกับเนื้อเยื่อชั้นในของกระเพาะปัสสาวะได้โดยตรงซึ่งมีเส้นประสาทจำนวนมากที่นั่น ส่งผลให้เกิดการแสดงความรู้สึกที่ผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ
- ประวัติติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อยครั้ง (UTI) ทำให้เกิดการระคายเคืองที่เยื่อบุผิวกระเพาะปัสสาวะ นำไปสู่การแสดงรู้สึกที่ผิดปกติไปของกระเพาะปัสสาวะ แม้จะไม่มีการติดเชื้อหลงเหลือแล้ว
แนวทางการรักษาโรค Interstitial cystitis หรืออาการปวดกระเพาะปัสสาวะไม่ทราบสาเหตุมีตั้งแต่การรักษาด้วยยาไปจนถึงการรักษาด้วยการผ่าตัด ในขณะที่ผลการรักษาทั้งหมดก็ยังไม่เป็นที่พอใจนัก ต่อไปนี้คือตัวอย่างในการรักษา

- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการลองปรับเปลี่ยนอาหาร
- การพิจารณาออกกำลังกายอุ้งเชิงกราน Pelvic floor exercise

- หาวิธีลดความเครียด

- ยารับประทาน – มีรายงานอัตราความสำเร็จ 77% จากการใช้ยารับประทาน
- การบำบัดทางเส้นเลือด – อัตราความสำเร็จสูงถึง 93% จากการแทรกแซงด้วยการส่องกล้อง
- การผ่าตัดเส้นประสาทที่อุ้งเชิงกราน – มีค่าใช้จ่ายและมีรายงานภาวะแทรกซ้อนสูง
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นหลังการรักษาครับ แต่น่าเสียดายที่อัตราการเป็นซ้ำก็สูงเช่นกัน โรค Interstitial cystitis หรืออาการปวดกระเพาะปัสสาวะไม่ทราบสาเหตุนี้ เราต้องให้ความรู้และลักษณะการดำเนินของโรคแก่ผู้ป่วยทั้งหมดเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยสับสน หากเพื่อนๆ หรือญาติของคุณมีอาการแบบนี้ ลองปรึกษากับหมอทางเดินปัสสาวะที่คุณไว้ใจดูครับ หรือลองทัก ผมขอบคุณครับ




