หนึ่งในภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ของระบบทางเดินปัสสาวะคือ Urinary retention หรือภาวะปัสสาวะไม่ออกในผู้ชายจะเป็นหัวข้อที่เราพูดกันในวันนี้ครับ ภาวะนี้เป็นภาวะที่ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงครับ โดยส่วนใหญ่แล้วปัญหานี้มักเกิดในคนผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ที่เราต้องให้ความสำคัญเมื่อคุณผู้ชายเจอปัญหาปัสสาวะไม่ออกครับ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะปัสสาวะไม่ออกในผู้ชาย
- โรคต่อมลูกหมากโต (BPH) – เป็นสาเหตุหลักที่พบบ่อยที่สุดและเป็นปัญหาที่ท่านผู้ชายที่อายุมากขึ้นจะต้องเจอทุกคน โรคต่อมลูกหมากโตพบได้ในท่านผู้ชายที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป มีอาการปัสสาวะไม่พุ่งโดยอาการจะค่อยเป็นค่อยไป ถ้าคนไข้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจากหมอทางเดินปัสสาวะจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะปัสสาวะไม่ออกในอนาคตได้ครับ
- ท่อปัสสาวะตีบ - คนไข้มักจะมีประวัติท่อปัสสาวะอักเสบ เคยมีประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เคยมีประวัติส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ทำให้เกิดแผลเป็นในท่อปัสสาวะ นำไปสู่ภาวะท่อปัสสาวะตีบทำให้เกิดภาวะปัสสาวะไม่ออกตามมาครับ

- นิ่วในท่อปัสสาวะ - เป็นภาวะที่พบไม่บ่อยเกิดจากมีนิ่วอุดตันในท่อปัสสาวะซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างฉุกเฉินครับ

- การติดเชื้อ – การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ การติดเชื้อในต่อมลูกหมาก หรือท่อปัสสาวะ สามารถทำให้เกิดการระคายเคือง บริเวณนี้และนำไปสู่ภาวะปัสสาวะไม่ออกครับ

- ยาประจำตัว - มียาหลายๆ ตัวที่ทำให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัวน้อยลง โดยหลังจากหยุดยาดังกล่าวคนไข้สามารถกลับมาปัสสาวะได้เป็นปกติครับ

- ภาวะท้องผูก - เป็นปัญหาที่ดูเหมือนจะธรรมดาแต่สามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะปัสสาวะไม่ออกได้ครับ เหตุผลก็คือ อุจจาระที่อัดแน่นในไส้ตรงจะเบียดท่อปัสสาวะทำให้ปัสสาวะได้ยากขึ้นครับ

- ภาวะนอนติดเตียง - กระบวนการที่ทำให้คนเราสามารถปัสสาวะได้จริงๆ แล้วมีความสลับซับซ้อนกว่าที่เราคิดนะครับ โดยกระเพาะปัสสาวะจะถูกสั่งการโดยสมอง สมองคนเราจะอนุญาตให้เราปัสสาวะได้เมื่อเราอยู่ในที่ๆ สงบปราศจากเสียงดังหรือเสียงรบกวนใดๆ และท่ายืนเป็นท่าที่ดีที่สุดในการปัสสาวะของท่านชาย ดังนั้นเราจะเห็นได้บ่อยๆ เมื่อคนไข้ต้องนอนติดเตียงเป็นเวลานาน เป็นเรื่องยากมากที่คนเราจะปัสสาวะได้เป็นปกติในท่านอนและแก้ไขได้ง่ายด้วยกันกายภาพบำบัดให้กลับมาเดินได้อีกครั้งครับ

- ปัญหาทางระบบประสาท - เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ค่อนข้างยากครับ แนะนำควรพบหมอทางเดินปัสสาวะครับ
- ปัญหากระเพาะปัสสาวะทำงานไม่ดี - เป็นอีกปัญหาที่พบได้น้อยเกิดจากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไม่ดีและรักษาได้ยากครับ
เมื่อคนไข้มีภาวะปัสสาวะไม่ออก ขั้นตอนแรกที่ต้องทำคือ ระบายน้ำปัสสาวะออก ซึ่งถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ โดยเราจะใส่สายสวนปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะหรือแทงสายระบายน้ำปัสสาวะออกทางท้องน้อยก่อนที่กระเพาะปัสสาวะจะแตกครับ การรักษาจะให้ผลการรักษาที่ดีได้ด้วยการดูแลของหมอเฉพาะทางระบบทางเดินปัสสาวะ คนไข้จะได้รับการแนะนำถึงแผนการรักษาในระยะยาวและการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะปัสสาวะไม่ออกซ้ำอีก เป็นเรื่องที่สำคัญครับที่คนไข้จะต้องเข้าใจถึงสาเหตุและการดำเนินโรคของภาวะนี้ ในบางครั้งการระบายน้ำปัสสาวะหลังจากเกิดภาวะปัสสาวะไม่ออกอาจจะมีเลือดออกได้บ้าง ซึ่งเราจะต้องแจ้งคนไข้ให้ทราบทุกครั้งครับ
ถ้ามีคำถามหรือข้อสงสัยใดๆ ลองทัก ผม.





เรียน ดร. Pommy ขอบคุณที่เขียนบทความนี้ เป็นสิ่งที่ฉันต้องการอ่านในวันนี้เกี่ยวกับภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของฉัน ภาวนาขอให้พวกเราไปถึงพัทยาโดยเร็วเพื่อดูแลปัญหานี้ในตัวฉัน
ขออวยพรให้คุณ!
ดร.สตีเฟน รอนซาโน
ปล. เจอกันเช้าวันอาทิตย์ที่ RPP
เรียน ดร.สตีเฟ่น
ติดต่อกันใน LinkedIn