จากประสบการณ์ของผมที่ได้พูดคุยกับผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังพบว่าโรคนี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตของผู้หญิงที่เป็นโรคนี้ บทความนี้จะอธิบายหลักการป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบด้วยตัวคุณเองเพื่อลดอัตราการติดเชื้อซ้ำของแบคทีเรียที่ชื่อ Escherichia coli
มองหาอาหารเสริมสำหรับป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ? ลองดูเลยครับ!
3 ขั้นตอนในการป้องกันการกระเพาะปัสสาวะอักเสบด้วยตัวเอง
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

มีงานวิจัยกล่าวถึงความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์ว่าส่งผลต่อโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังอย่างชัดเจน ประวัติการใช้ถุงยางอนามัยที่มีสารฆ่าสเปิร์ม มีคู่นอนคนใหม่ มีคู่นอนหลายคน ประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และภาวะอ้วน (BMI > 30) ล้วนมีผลทั้งสิ้น คำแนะนำคือให้สังเกตตัวเองว่ามีประวิติดังกล่าวหรือไม่
- การใช้ฮอร์โมน Estrogen เฉพาะที่

วัยหมดประจำเดือนมักประสบปัญหาปากช่องคลอดแห้ง ซึ่งเกิดจากการขาดฮอร์โมน Estrogen สาเหตุนี่เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีหลักฐานทางการแพทย์ชัดเจนว่าการใช้ฮอร์โมน Estrogen เฉพาะที่สามารถแก้ปัญหาปากช่องคลอดแห้งได้ แต่ในทางกลับกันฮอร์โมน Estrogen ชนิดทานไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ หนำซ้ำยังทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้ เช่น ประจำเดือนมาผิดปกติ หรือคัดตึงเต้านมได้

- กลุ่มอาหารเสริม
- น้ำแครนเบอรี่ เราพบสารชื่อ Pro-anthocyanin ปริมานสูงในแครนเบอรี่ ซึ่งสารนี้จะทำให้แบคทีเรีย E coli จับตัวกับผิวกระเพาะปัสสาวะได้ยากขึ้น ทำให้ป้องกันกระเพาะอักเสบได้ มีงานวิจัยรายงานว่า น้ำแครนเบอรี่เข้มข้น 20% หรือแครนเบอรี่สกัดชนิดเม็ดความเข้มข้น 18% จะสามารถลดภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ 1 ครั้งต่อปี เมื่อทานอย่างต่อเนื่อง
- วิตามิน C มีกรดแอสคอร์บิก (Ascobic acid) ซึ่งมีความสามารถในการทำให้น้ำปัสสาวะมีภาวะเป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียไม่ชอบภาวะนี้ มีการศึกษาทางแพทย์พบว่าการรับประทานกรดแอสคอร์บิก (Ascobic acid) วันละ 100 mg ต่อเนื่องเป็นเวลา 3 เดือนสามารถลดอุบัติการณ์ของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้
- D-Mannose เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่สามารถขับออกมาทางน้ำปัสสาวะ D-Mannose จะมีรูปร่างโมเลกุลคล้ายกับเยื่อบุผิวกระเพาะปัสสาวะซึ่งเป็นเป้าหมายของเชื้อแบคทีเรีย E coli ดังนั้น เมื่อแบคทีเรียมาติดกับ D-Mannose เชื้อแบคทีเรียจะถูกขับออกไปกับน้ำปัสสาวะทันทีก่อนที่จะทำให้เกิดติดเชื้อ มีรายงานทางการแพทย์ว่าการรับประทาน D-Mannose 2 - 3 กรัมต่อวันสามารถช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้
- ยาสอดช่องคลอดที่มีส่วนผสมของ Lactobacillus - แบคทีเรีย Lactobacillus เป็นแบคทีเรียที่ทำให้ช่องคลอดมีสุขภาพแข็งแรง ซึ่งเป็นปัจจัยป้องกันหนึ่งของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ การใช้ยาสอดชนิดนี้ได้ผลดีทั้งในวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือน คำแนะนำในการใช้คือ เริ่มสอดวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน หลังจากนั้นสอดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 10 สัปดาห์
- เกลือ Methanamine - เป็นอาหารเสริมที่ได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยาของอเมริกา (US FDA) ว่าสามารถใช้ในการป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไป เมื่อเกลือ Methanamine อยู่ในน้ำปัสสาวะ มันจะเปลี่ยนเป็นฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ มีรายงานทางการแพทย์ยืนยันว่าเกลือ Methanamine สามารถลดปริมานเชื้อแบคทีเรียในน้ำปัสสาวะได้จริง คำแนะนำในการใช้ 500 mg วันละ 2 เวลา และสามารถปรับไปได้ถึง 1 gram วันละ 4 เวลา
- การใช้วัคซีน มีวัคซีนหลายตัวที่อยู่ในขั้นตอนการค้นคว้าวิจัย ซี่งแต่ละตัวมีความหลากหลายในแง่การใช้ เช่นให้วัคซีนทางปากหรือสอดช่องคลอด จากข้อมูลที่ค่อยๆ แสดงออกมานั้นพบว่ามีประสิทธิภาพที่ดี

ผมคิดว่าข้อมูลดังกล่าวน่าจะเป็นประโยชน์ให้กับกลุ่มท่านผู้หญิงที่เจอปัญหากระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังนะครับ เพราะหลายๆ ท่านจะได้รับการรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อบ่อยครั้งซึ่ทำให้เสี่ยงต่อโรคเชื้อดื้อยา (Drug resistance) ในอนาคต
ถ้ามีคำถามหรือข้อสงสัยใดๆ ลองทัก ผม.






หนึ่งความคิดบน “3 Self-remedy prevent bladder infection in female”